คณิตศาสตร์ MATHEMATICS

ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ => ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ โฆษณาหนังสือแนวข้อสอบ => ข้อความที่เริ่มโดย: papertestthai ที่ สิงหาคม 31, 2018, 09:21:33 am



หัวข้อ: [[แจกฟรี]]แนวข้อสอบตำแหน่งบริหารระดับกลาง กกต.
เริ่มหัวข้อโดย: papertestthai ที่ สิงหาคม 31, 2018, 09:21:33 am
[[แจกฟรี]]แนวข้อสอบตำแหน่งบริหารระดับกลาง กกต. (http://www.go-th.com/math/go.php?url=aHR0cHM6Ly93d3cu4LmB4LiZ4Lin4LiC4LmJ4Lit4Liq4Lit4Lia4Lij4Liy4LiK4LiB4Liy4Lij4LmE4LiX4LiiLmNvbS93ZWJib2FyZC92aWV3dG9waWMvNTAw)
Cr : https://www.แนวข้อสอบราชการไทย.com/webboard/viewtopic/500 (http://www.go-th.com/math/go.php?url=aHR0cHM6Ly93d3cu4LmB4LiZ4Lin4LiC4LmJ4Lit4Liq4Lit4Lia4Lij4Liy4LiK4LiB4Liy4Lij4LmE4LiX4LiiLmNvbS93ZWJib2FyZC92aWV3dG9waWMvNTAw)

1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 บังคับให้เมื่อใด
ก. วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ข. วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ค. วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ง. วันที่ 21ธันวาคม พ.ศ.  2552
ตอบ ข. วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552
มาตรา 2 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2. ข้อใดคือความหมายของ “ผู้มีสิทธิออกเสียง” ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
ก. การออกเสียงประชามติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ข. ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ค. ผู้ที่กำหนดให้เป็นเขตออกเสียงประชามติ
ง. ไม่มีข้อถูก
ตอบ ข. ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
 มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
 “ผู้มีสิทธิออกเสียง” หมายความว่า ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

3. ข้อใดคือความหมายของ “จังหวัด” ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
ก. กรุงเทพมหานคร
ข. เขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ทั้ง 77 จังหวัด
ค. เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ง. ระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก
ตอบ  ก. กรุงเทพมหานคร
 มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
“จังหวัด” หมายความว่า กรุงเทพมหานคร

4. ผู้ใดคือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
ก. ประธานกรรมการการเลือกตั้ง
ข. รองประธานกรรมการการเลือกตั้ง
ค. รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย
ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ก. ประธานกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา ๔ ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

5. นายกรัฐมนตรีประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา โดยจะต้องมีรายละเอียดดังข้อใด
ก. กำหนดเรื่องในการจัดทำประชามติ ซึ่งจะต้องมีข้อความที่ชัดเจนเพียงพอที่จะให้ผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องที่จะจัดทำประชามติ
ข. กำหนดว่าการจัดให้มีการออกเสียงดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้มีข้อยุติโดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียง หรือเป็นไปเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี
ค. ถ้ากฎหมายที่ไม่ได้บัญญัติผู้มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงไว้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น
ง. ถูกทั้ง ก และ ข
ตอบ ง. ถูกทั้ง ก และ ข
มาตรา 5 ในกรณีที่จะดำเนินการจัดทำประชามติตามมาตรา 165 (1) ของรัฐธรรมนูญให้นายกรัฐมนตรีประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา โดยจะต้องมีรายละเอียด ดังนี้
(1) กำหนดเรื่องในการจัดทำประชามติ ซึ่งจะต้องมีข้อความที่ชัดเจนเพียงพอที่จะให้ผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องที่จะจัดทำประชามติ
(2 กำหนดว่าการจัดให้มีการออกเสียงดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้มีข้อยุติโดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียง หรือเป็นไปเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี

6. ประชามติตามที่มีกฎหมายบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมายประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำประชามติตามที่กฎหมายนั้นบัญญัติ ถ้ากฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติผู้มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงไว้ ต้องดำเนินการอย่างไร
ก. ให้นายกรัฐมนตรี มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น
ข. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น
ค. ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น
ง. ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น
ตอบ ค. ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น
มาตรา 5 ( วรรคท้าย )
ในกรณีที่จะดำเนินการจัดทำประชามติตามที่มีกฎหมายบัญญัติตามมาตรา 165(2) ของรัฐธรรมนูญให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมายประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำประชามติตามที่กฎหมายนั้นบัญญัติ ถ้ากฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติผู้มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงไว้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจออกประกาศให้มีการออกเสียงตามกฎหมายนั้น

7. เมื่อมีประกาศให้มีการออกเสียงตามมาตรา 5 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันออกเสียงในราชกิจจานุเบกษาภายในนับแต่วันที่มีประกาศ
ก. 30 วัน
ข. 15 วัน
ค. 10 วัน
ง.  7  วัน
ตอบ ง. 7 วัน
  มาตรา 6 เมื่อมีประกาศให้มีการออกเสียงตามมาตรา 5 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ประกาศกำหนดวันออกเสียงในราชกิจจานุเบกษาภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีประกาศดังกล่าว

8. วันออกเสียงในการจัดทำประชามติต้องกำหนดวันออกเสียงภายในระยะกี่วัน
ก. ระยะเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา
ข. ระยะเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง
ค. ระยะเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน นับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ  ก. ระยะเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 6 เมื่อมีประกาศให้มีการออกเสียงตามมาตรา 5 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันออกเสียงในราชกิจจานุเบกษาภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีประกาศดังกล่าววันออกเสียงต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทุกเขตออกเสียง และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) วันออกเสียงในการจัดทำประชามติตามมาตรา 165 (1) ของรัฐธรรมนูญต้องกำหนดวันออกเสียงภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียงในราชกิจจานุเบกษา

9. ผู้มีสิทธิออกเสียงเห็นว่าการให้มีการออกเสียงนั้นไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมายที่บัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ ผู้มีสิทธิออกเสียงสามารถเสนอคำฟ้องภายในกำหนดระยะเวลากี่วันต่อศาลใด
ก. 60 วัน นับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง , ศาลฎีกา
ข. 60 วัน นับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง , ศาลปกครอง
ค. 30 วัน นับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง , ศาลปกครอง
ง. 30 วัน นับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง , ศาลปกครองสูงสุด
                ตอบ ง. 30 วัน นับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง , ศาลปกครองสูงสุด
 มาตรา 6 (วรรคท้าย)
  ภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียงใดแล้ว ถ้ามีผู้มีสิทธิ
ออกเสียงเห็นว่าการให้มีการออกเสียงนั้นไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมายที่บัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ หรือตามเจตนารมณ์ของมาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญสามารถเสนอคำฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อให้มีคำวินิจฉัยโดยเร็ว

10. ข้อใดคือวิธีออกเสียงลงคะแนนออกเสียงประชามติ
ก. แบบตรง
ข. แบบลับ
ค. แบบปกปิด
ง. ถูกทั้ง ก และ ข
ตอบ ง. ถูกทั้ง ก และ ข
 มาตรา 8 การออกเสียง ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ

11. พระราชบัญญัตินี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ใด
ก. พ.ศ. 2538
ข. พ.ศ. 2539
ค. พ.ศ. 2541
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ค. พ.ศ. 2541
 มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541

12. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับคำว่า “เลือกตั้ง” ในพระราชบัญญัตินี้
ก. เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ค. สมาชิกสภาท้องถิ่น
ข. สมาชิกวุฒิสภา
ง. ถูกทุกข้อ
 ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
 มาตรา 4 ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ “เลือกตั้ง” หมายความว่า เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี

13. กรรมการการเลือกตั้งต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่มีบรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติภายในกำหนดระยะเวลาใด นับตั้งแต่วันที่เข้าดำรงตำแหน่ง
ก. 30 วัน
ข. 45 วัน
ค. 60 วัน
ง. 90 วัน
 ตอบ ก. 30 วัน

14. ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องมีกรรมการประชุมจำนวนเท่าใดของกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่ จึงเป็นองค์ประชุม
ก. กว่าสามในห้า
ข. กว่าสี่ในห้า
ค. ต้องมีกรรมการทั้งห้าคนเข้าประชุม
ง. ไม่มีข้อใดถูก
 ตอบ ข. กว่าสี่ในห้า

15. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเลือกตั้ง
ก. ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง
ข. ออกประกาศกำหนดการทั้งหมดอันจำเป็น
ค. ออกข้อกำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติหน้าที่
ง. ไม่มีข้อใดถูก
 ตอบ ง. ไม่มีข้อใดถูก
 มาตรา 10 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(2) ออกประกาศกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(3) มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการ-ส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐปฏิบัติการทั้งหลายอันจำเป็นตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การออกเสียงประชามติ และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(4) ออกข้อกำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติ
(5) ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งที่ใช้วิธีการแบ่งเขตเลือกตั้ง และจัดให้มีบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(6) สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติหรือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(7) สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือออกเสียงประชาติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใดหน่วยเลือกตั้งหนึ่งหรือทุกหน่วยเลือกตั้งหรือสั่งให้มีการนับคะแนนใหม่ เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติในหน่วยเลือกตั้งนั้นๆ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและ เที่ยงธรรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีพิจารณาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
(8) ประกาศผลการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติ
(9) ดำเนินการหรือประสานงานกับหน่วยราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือสนับสนุนองค์การเอกชนในการให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(10) จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีและข้อสังเกตเสนอต่อรัฐสภา
(11) ดำเนินการอื่นตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญอื่น หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

16. คณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดให้มีจังหวัดละไม่เกินกี่คน
ก. 5 คน
ข. 9 คน
ค. 10 คน
ง. 11 คน
 ตอบ ก. 5 คน
 มาตรา 12 คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดตามมาตรา 14 ให้มีจำนวนจังหวัดละไม่เกิน 5 คน ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งจากผู้มีความเป็นกลางทางการเมืองมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๖ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๗ และได้รับการสรรหาตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดตามวรรคหนึ่งให้สรรหาและแต่งตั้งจากผู้มีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้นเป็นหลัก โดยให้คำนึงถึงความหลากหลายของอาชีพ การมีส่วนร่วมของสตรี และความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ได้ตลอดเวลาด้วยกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว